ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมด

การหาอาหารของมด ถ้าดูที่ส่วนปากของมดแล้วพบว่า จะมีส่วนที่ใช้กัดและกินรวมไปถึงส่วนที่ใช้ดูดด้วย ดังนั้นมดส่วนมากสามารถดูดน้ำเลี้ยงพืชหรือของเหลวจากแมลงที่ขับถ่ายออกมาได้ รวมไปถึงการกัดและกินพืชที่ตายแล้วหรือชิ้นส่วนของสัตว์ มดงานส่วนใหญ่เป็นพวกตัวห้ำหรือกินซากสัตว์ (Scavengers) อาหารของมดนั้นค่อนข้างกว้าง ประกอบด้วย สัตว์ที่ขาเป็นปล้องและเมล็ดพืช มดตัวเต็มวัยกินอาหารที่เป็นของเหลว โดยสะสมของเหลวจากเหยื่อที่จับได้หรือขณะที่ดูแลพวกเพลี้ยต่างๆ และแมลงกลุ่มอื่นๆ เหยื่อที่เป็นของแข็งนั้นก็จะนำกลับไปที่รังโดยมดงาน ตามปกติจะเป็นอาหารของตัวอ่อนมด ตัวเต็มวัยที่อยู่ในรังได้แก่ ราชินี ได้รับอาหารจำนวนมากหรือทั้งหมดจากมดงานที่หาอาหารได้โดยตรง ระหว่างที่หาอาหาร มดงานจะสะสมของเหลวซึ่งจะเก็บสะสมไว้ที่ส่วนบนของระบบย่อยอาหาร เมื่อกลับไปยังรัง มดงานเหล่านี้จะสำรองของเหลวที่สะสมไว้และผ่านเข้าไปยังมดงานตัวอื่นๆ ขณะที่มดงานส่วนมากจะกินอาหารแตกต่างกันออกไป มีมดบางชนิดเจาะจงอาหารในวงแคบๆ

มดจำนวนมากชอบกินพวกแมลงหางดีดเป็นอย่างมาก ส่วนมดบางชนิดชอบกินไข่ของสัตว์ที่มีขาเป็นปล้อง มดบางชนิดจะเข้าไปยังรังมดชนิดอื่นอย่างรวดเร็ว เพื่อจับตัวอ่อนมดและดักแด้ มดจำนวนมากที่มีความจำเพาะกับอาหาร ที่กินนั้นจะมีการดัดแปลงลักษณะทางสัณฐาน ตัวอย่างเช่น กรามที่พบในพวกกลุ่มตัวห้ำชั้นสูงจะเรียวยาวมาก และมีฟันขนดใหญ่ โดยเฉพาะตอนปลาย เมล็ดของพืชจำนวนมาก มีอาหารที่จำเพาะเรียกว่า Elaiosomes ซึ่งจะดึงดูดมดให้เข้ามา มดจะสะสมเมล็ดโดยกินส่วนนี้เป็นอาหาร บางครั้งกินเมล็ดด้วย เมล็ดจำนวนมากยังคงงอกได้หลังจากส่วนที่มีอาหารถูกกินไป เมล็ดจะถูกวางไว้ภายในรังหรือบนกองตรงกลางที่มดสร้างขึ้นมา เป็นบริเวณที่เมล็ดจะมีการงอกในเวลาต่อมา มีความเชื่อว่าเมล็ดที่สะสมโดยมด มีโอกาสสูงมากในการงอกและรอดชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับ เมล็ดที่ไม่ได้มีการสะสมจากมด เนื่องจากเมล็ดถูกทำลายน้อยมาก โดยพวกกินเมล็ด และเนื่องจากเมล็ดถูกเก็บไว้ในร่มใกล้กับกองดินที่มีธาตุอาหาร

โดยทั่วไป มดชอบออกหากินไม่ช่วงกลางวันก็กลางคืน การออกหากินของมดบางชนิดเกิดขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน ในบริเวณที่แห้งแล้ง กิจกรรมการหาอาหารของมดจำนวนมากขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ บางชนิดมีกิจกรรมระหว่างช่วงเช้าหรือเย็นเท่านั้น ส่วนบางชนิดมีกิจกรรมระหว่างตอนที่ร้อนที่สุดของวัน

วรรณะต่างๆ ของมด

  • ราชินี
  • มดเพศผู้
  • วรรณะทหาร (Major Worker)
  • วรรณะกรรมกร (Minor Worker)

ภายในมดกลุ่มๆหนึ่งจะมี ราชินี ที่ทำหน้าที่วางไข่และมดงานที่เป็นตัวเต็มวัยจำนวนมากซึ่งรวมถึง ไข่ ตัวหนอน และดักแด้ มดงานเป็นมดที่มีมากที่สุดในแต่ละรัง โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างรังและดูแลรัง หาอาหาร ดูแลครอบครัวและราชินี และป้องกันรัง ราชินีและเพศผู้ที่มีปีกจะอยู่ในรังช่วงสั้นๆเท่านั้น ในเวลาต่อมาก็จะออกจากรังเพื่อผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ ราชินีโดยทั่วไปคล้ายกับมดงาน ต่างกันตรงที่มีส่วนท้องใหญ่กว่า มดเพศผู้นั้นมีขนาดเท่ากับมดงานหรือเล็กกว่าเล็กน้อย มีหัวเล็กกว่าและตาเดี่ยว ส่วนมากดูคล้ายกับต่อมากกว่ามด มดงานเป็นวรรณะที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะขณะที่มดงานหาอาหารบนพื้นดิน หรือเมื่อขอนไม้ผุหรือที่อยู่อาศัยถูกรบกวน อย่างไรก็ตาม มดงานบางส่วนเท่านั้นที่ออกไปหาอาหาร เนื่องจากมีการแบ่งหน้าที่การทำงาน อย่างชัดเจนภายในรัง บางกรณีหน้าที่ที่เจาะจงนั้นขึ้นอยู่กับอายุของมดงาน ตัวอย่างเช่น มดงานที่ออกจากดักแด้ใหม่ๆ จะคงอยู่ภายในรังและดูแลไข่ ตัวหนอน และดักแด้ เมื่อมีอายุมากขึ้น มดงานก็จะเปลี่ยนกิจกรรม จากดูแลครอบครัวและเริ่มงานใหม ่ในการสร้างรังและทางเดิน ในที่สุดมดงานก็จะเป็นผู้ออกไปหาอาหาร แต่มดงานบางตัวอาจดำเนินกิจกรรมที่เหมือนกันตลอดทั้งชีวิต หรือบางกรณีมดงานทั้งหมดอาจดำเนินกิจกรรมทั้งหมดภายในกลุ่ม ในกลุ่มมดงานที่มีสองรูปแบบและหลายรูปแบบ ขนาดของมดงาน จะมีอิทธิพลต่อการดำเนินกิจกรรม ตัวอย่างเช่น มดงานที่เป็น Major อาจจะพบภายในรังหรือใกล้รังเท่านั้น ขณะที่มดงานที่เป็น Minor เท่านั้นออกไปหาอาหารไกลจากรัง

ชีวิตของมด รังมดโดยทั่วไปเริ่มด้วย ราชินี 1 ตัว ราชินีจะบินออกจากรังที่เป็นบ้านอาศัย พร้อมด้วยราชินีและมดเพศผู้ตัวอื่น ๆ ด้วย และจากรังอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง ราชินีจะค้าหาที่สำหรับผสมพันธุ์ โดยปกติจะถูกดึงดูดด้วยวัตถุขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น ต้นไม้สูงๆ ไม้พุ่มขนาดใหญ่ และยอดเนินเขา บริเวณเหล่านี้จะเป็นที่พบกันสำหรับราชินีและมดเพศผู้ที่มาจากหลายรัง ทำให้สามารถพบกัน ราชินีก็จะผสมพันธุ์กับมดเพศผู้ 1 ตัว หรือ 2-3 ตัว ขณะยังคงบินอยู่ในอากาศแต่เป็นช่วงสั้นๆ หลังจากนั้นก็จะทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน ราชินีจะค้นหาพื้นที่ทำรังที่เหมาะสม พื้นที่ราชินีค้นหานั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและสามารถมีขอบเขตตั้งแต่ยอดไม้จนถึงใต้ดิน ข่วงที่ราชินีค้นหาหรือขณะที่พบพื้นที่ที่เหมาะสมแล้วราชินีจะกัดปีกหรือสลัดปีกออกเนื่องจากไม่

ต้องการใช้แล้วจากนั้น ราชินีจะห่อหุ้มตัวเองด้วยปลอกขนาดเล็ก ๆ และวางไข่เป็นกลุ่มเล็กๆ ราชินียังคงอยู่ในรังกับครอบครัว

วงจรชีวิตของมด

ขณะที่กำลังเจริญเติบโต ตัวหนอนที่กำลังเจริญเติบโต จะกินไข่ที่ไม่ได้ผสมซึ่งราชินีจะวางไข่โดย เฉพาะสำหรับเป็นอาหาร มดงานรุ่นที่ 1 มีขนาดเล็กกว่ามดงานรุ่นถัดๆมา เพราะว่าราชินีสามารถจัดเตรียมอาหาร ในปริมาณที่กำจัด เมื่อเปรียบเทียบ กับการหาอาหารของมดงาน เมื่อมดงานเป็นตัวเต็มวัย ก็จะเริ่มออกจากรังและหาอาหาร โดยการจับเหยื่อกลับมาให้ราชินีและครอบครัวที่เพิ่มขึ้น กลุ่มมดพัฒนาขึ้น เพราะว่ามีมดงานตัวเต็มวัยมากขึ้น มดงานรุ่นใหม่ควบคุมดูแลครอบครัวรวมทั้งนำอาหารเพิ่มขึ้น ที่ระยะนี้ ราชินีจะลดกิจกรรม ในการวางไข่และมดงานเข้ารับหน้าที่ทั้งหมดภายในรัง ราชินียังคงมีความจำเป็น สำหรับการดำรงชีวิตกลุ่มมดทั่วไป เพราะว่าราชินีจะควบคุมกิจกรรมของมดงานทั้งหมดในรังด้วยการส่งสารเคมี

รูปแบบการค้นหารังเป็นรูปแบบหนึ่งที่พบทั่วไปและแพร่กระจายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังมีมดอีกจำนวนมากที่แตกต่างไปจากนี้ ตัวอย่างเช่น การผสมพันธุ์อาจเกิดขึ้นบนหรือในรัง ราชินีหลายตัวสร้างรังร่วมกันและอาศัยอยู่ร่วมกัน หรือต่อมาก็ต่อสู้กันในการกำหนดราชินีที่เหลืออยู่ภายในรัง ส่วนราชินีตัวอื่นๆถูกบังคับให้ออกไปหรือถูกฆ่าตาย ส่วนในบางชนิดนั้นกลุ่มใหม่ถูกสร้างเมื่อราชินีใหม่ออกจากรังไป พร้อมกับมดงานจำนวนหนึ่งและกำหนดถิ่นฐานใหม่ที่ห่างไกลออกไป ราชินีหาอาหารข้างนอกรังก่อนที่มดงานรุ่นที่ 1 จะเกิดขึ้น เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มมดงาน จะเข้าสู่วัยแก่ ราชินีจะเริ่มผลิตราชินีและมดเพศผู้ในรุ่นถัดไป ปัจจัยหลายประการ ที่เป็นตัวกำหนดการผลิตราชินีใหม่ประกอบด้วย เวลาในรอบปี อาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ขนาดและที่บรรจุไข่ที่วาง ฟีโรโมนหรือฮอร์โมนที่ผลิตโดยราชินี และอายุของราชินี ส่วนการผลิตมดเพศผู้นั้นถูกกำหนดโดยกลไกอย่างง่ายๆกว่าราชินี ตัวหนอนของราชินี และมดเพศผู้ใหม่จะคล้ายกับตัวหนอนของมดงานแต่โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่กว่า เมื่อเป็นตัวเต็มวัยระยะแรกจะยังคงอยู่ในรังก่อนเพื่อคอยภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการเริ่มต้นออกจากรัง สภาพที่เหมาะสมนี้จะเป็นสาเหตุสำคัญในการกระตุ้นการออกจากรังของราชินีและมดเพศผู้เมื่อออกจากรังไปแล้ว ราชินีจะผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ภายใน 2-3 วันเท่านั้น ขณะที่มดเพศผู้โดยทั่วไปจะตายภายใน 2-3 วันหลังออกจากรัง

รังมด ถึงแม้ว่าจะพบมดได้ง่ายอย่างไรก็ตาม ตาที่อยู่ของรังมดไม่ค่อยมีใครรู้มากนัก มดถือเป็นสัตว์กลุ่มหนึ่งที่มีการดัดแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการโดยการสร้างรังอย่างปราณีตในบริเวณที่เลือก บางครั้งมีการใช้พลังงานไปจำนวนมากในการสร้างรัง รังมดโดยทั่วไปมีอายุเป็นปีและบางชนิดมีอายุถึง 10 ปี นอกจากนี้แล้ว มดบางชนิดจะใช้ไฟเบอร์ของพืชหรือดินในการสร้างเป็นเกราะป้องกันบริเวณที่หาอาหาร

รังมดในดินแตกต่างกันตั้งแต่รังขนดเล็กๆเป็นแอ่งอย่างง่ายๆอยู่ใต้ก้อนหิน ขอนไม้ หรือวัสดุอื่นๆที่อยู่ตามพื้นดิน จนเป็นอุโมงค์ที่ขายออกไปหลายๆเมตรใต้ดิน โครงสร้างของรังมดนี้แตกต่างไปตามแต่ละชนิดมด ชนิดดินและบริเวณที่สร้างรัง เมื่อมองดูจากด้านบนตั้งแต่ทางเข้าของรังไปในรังใต้ดินมีรูปแบบในขอบเขตที่กว้างมาก มดจำนวนมากมีรูทางเข้าขนาดใหญ่พอเพียงให้มดงาน 1 ตัวเข้าไปได้เท่านั้น บางชนิดเป็นทางเข้าเดี่ยวๆที่มีมูลดินล้อมรอบ ซึ่งแตกต่างกันออกไป มีตั้งแต่มูลดินต่ำและกว้างไปจนถึงมูลดินสูงเป็นป้อมแคบๆ มดจำนวนมากจะมีเศษพืชและดินล้อมรอบทางเข้ารังเป็นกองขนาดใหญ่ซึ่งด้านบนลาดลง บางชนิดมีการเก็บเศษพืชไปสร้างกำบังกองดินที่อยู่เหนือรังใต้ดิน มดบางชนิดสร้างรังอยู่บนต้นไม้ ตามกิ่ง ก้าน หรือลำต้นของต้นไม้ รังส่วนมากที่พบ ทางเข้าของรังมดงานชนิดต่างๆมีขนาดเล็กและวงกลมหรือไม่ก็โดยอาศัยโครงสร้างธรรมชาติของลำต้นและกิ่ง มีมด 2-3 ชนิดที่สร้างรังบนต้นไม้ จะสร้างโดยการใช้ใบไม้ ตัวอย่างเช่น มดแดง จะเชื่อมใบไม้แต่ละใบเข้าด้วยกันโดยเส้นใยที่ผลิตจากตัวอ่อนของมดแดง หรือบางชนิดที่อาศัยตามต้นไม้ จะใช้ไฟเบอร์ของพืชนั้นสร้างสิ่งปกคลุมรังซึ่งเชื่อมติดกับผิวใบ มดก็จะอาศัยอยู่ภายในปลอกหุ้มที่สร้างโดยสิ่งปกคลุมกับใบ ขณะที่มดจำนวนมากจะสร้างรังอย่างพิถีพิถัน แต่บางชนิดสร้างรังอย่างง่ายๆ มีมดจำนวนมากพบในขอนไม้ผุซึ่งจะนำไฟเบอร์พืชออกไปสร้างเป็นหลุมอย่างง่ายๆสำหรับมดงานและครอบครัว หลุมเหล่านี้อาจมีขนาดเล็กหรือขยายใหญ่ได้แต่มีความซับซ้อนของรังน้อยกว่ารังมดที่อยู่ใต้ดินหรือตามต้นไม้ มีมดบางชนิดที่ไม่มีรังที่แท้จริง จะพบเป็นกลุ่มเล็กๆบนพื้นดินในซากพืชหรือระหว่างรากพืช มดพวกนี้จะเคลื่อนย้ายรังบ่อยมากและสามารถพบตามบริเวณที่เหมาะสมได้กว้างขวาง